3084 จำนวนผู้เข้าชม |
แสงเหนือหรืออีกชื่อที่เรียกว่า ออโรร่า (Northern Lights, or Aurora Borealis) ทางวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งสร้างความสวยงามตระการตามองดูคล้ายพลังจากจักรวาล
แต่จริง ๆ แล้วในทางวิทยาศาสตร์ แสงเหนือ เกิดจากการชนกันระหว่างก๊าซในชั้นบรรยากาศของโลก กับอนุภาคไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากพลังงานแสงอาทิตย์
จึงทำให้เกิดเป็นแสงในลักษณะต่าง ๆ ที่ต่างออกไป นั้นเอง
.
สถานที่ยอดฮิตสำหรับการถ่ายแสงเหนือ คงหนีไม่พ้น รัสเซีย นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน
ซึ่งสำคัญมากจะต้องเลือกสถานที่ ที่แสงออโรร่าอยู่แนวพาดผ่านโลกด้วย
ช่วงฤดูสำหรับการถ่ายแสงเหนือที่ดีที่สุด จะเป็นช่วงฤดูหนาว หรือตั้งแต่เดือน กันยายน ถึง ตุลาคม และอีกช่วงคือ มีนาคม และ เมษายน ตั้งแต่เวลา 22.00-24.00 น. เป็นต้นไป
จริง ๆ แล้วเราสามารถใช้กล้องตัวไหนก็ได้ในการถ่ายแสงเหนือ ไม่ว่าจะเป็น DSLR, Mirrorless, Compact หรือแม้กระทั่งกล้องฟิล์ม
โดยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเราทั้งนั้น ส่วนความคมชัด รายละเอียดของภาพ ล้วนขึ้นอยู่กับสเปคต่าง ๆ ของกล้องแต่ละตัว
ในที่นี่แนะนำเป็นกล้อง Fullframe เนื่องจากมี sensor ที่ใหญ่ และสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีกว่ากล้องประเภท APS-C และ Compact
เลนส์ที่เหมาะสมจะเป็นเลนส์มุมกว้าง เพื่อสามารถเก็บภาพท้องฟ้า และเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด
และที่สำคัญ ควรเป็นเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงต่ำที่สุด เพราะเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงต่ำจะทำให้เก็บภาพในที่มืดได้ดียิ่งขึ้น และลดเกิด Noise ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการถ่ายแสงเหนือ
1 . ขาตั้งกล้อง 2. ที่กดชัตเตอร์แบบบลูทูธ 3. เมมโมรี่การ์ด 4. อุปกรณ์ทำความสะอาดเลนส์(เนื่องจากสถานที่อาจมีลมและฝุ่นละออง จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อม) 5.แบตเตอรี่สำรอง เป็นต้น 6.ไฟฉาย
การจัดองค์ประกอบยังเป็นเรื่องที่สำคัญเสมอ การเพิ่มฉากหน้า ทำให้ภาพมีมิตและหน้าสนใจมากขึ้น
แนะนำให้ใช้ Shutter B (Bulb) บวกกับสายลั่นชัตเตอร์ เนื่องจากการถ่ายภาพแสงเหนือ ควรเปิดสปีตชัตเตอร์ทิ้งไว้นาน ๆ เพื่อเก็บแสง แล้วเห็นการเคลื่อนไหวของแสงเหนือและดาวได้มากที่สุด
เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด เช่น F1.2-F2.8 เพื่อให้ภาพมีความสว่างขึ้นโดยไม่ต้องใช้ ISO ที่สูง
การตั้งค่า ISO ไม่ได้ฟิกว่าต้องตั้งค่าเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของกล้องรุ่นต่าง ๆ ด้วย
ซึ่งการใช้ ISO สูง จะทำให้ภาพเกิด Noise และไม่คมชัด อาจจะลองเริ่มจากที่ ISO 800 และค่อย ๆ ปรับไปตามความเหมาะสมในตอนนั้นด้วย