2706 จำนวนผู้เข้าชม |
1. DSLR ย่อมาจาก DSLR digital single-lens reflex
เป็นกล้องดิจิตอลที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ โดยวิธีการบันทึกภาพของกล้องประเภทนี้คือ ต้องใช้แสงวิ่งผ่านมาเลนส์เข้ามาในตัว Sensor ในขณะที่เรายังไม่กดชัตเตอร์ จะที่วิ่งผ่านเลนส์เข้ามาจะถูกกั้นโดยกระจกแนวเฉียง กระจกนี้จะช่วยสะท้อนภาพออกไปทางช่องมองภาพ (Viewfinder) เพื่อให้ผู้ถ่ายได้เห็นภาพเสียก่อน
หลังจากเรากดชัตเตอร์แล้ว กระจกสะท้อนดังกล่าวจะถูกยกตัวขึ้นด้วยกลไกภายใน ปล่อยให้แสงวิ่งผ่านเลนส์มาถึง Sensor เพื่อทำการบันทึกภาพ เท่านี้เราก็ได้ภาพถ่ายเรียบร้อย
2. Mirrorless
กล้อง mirrorless คือ กล้องที่ไม่มีกระจกะสะท้อนภาพจากเลนส์ไปยังช่องมองภาพเหมือนอย่างกล้อง DSLR แต่ใช้การแสดงภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ลักษณะการทำงานจะคล้าย ๆ กับโทรศัพท์มือถือ โดยจะสามารถปรับค่าต่าง ๆ แล้วแสดงผลที่หน้าจอ LCD ได้เลย ในขณะที่ DSLR บางรุ่นทำไม่ได้
ข้อดีของกล้องประเภทนี้คือ จะมีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา ทำงานเงียบกว่า เพราะไม่มีเสียงกระจกพลิกเพื่อสะท้อนภาพ อีกทั้งยังมีรูปทรงที่ค่อนข้างทันสมัยกว่าด้วย
3. Compact Camera
เป็นกล้องที่มีลักษณะคล้ายกับ Mirrorless เพียงต่างกันตรงที่กล้อง compact นี้ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ แต่ถึงจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ ในหลายแบรนด์ชั้นนำ ก็จะออกแบบให้ตัวเลนส์ที่ติดมากับกล้องมีหลายหลายระยะ ตั้งแต่ระยะ macro - Telephoto ก็มีอีกด้วย
กล้อง compact เป็นกล้องที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องตั้งค่าอะไรเยอะ มีน้ำหนักเบา เลยเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและช่างภาพสายสตรีท
จึงทำให้กล้อง compact ก็เป็นที่นิยมสำหรับสายสตรีท
4. กล้อง Fullframe
ชื่อก็บ่งบอกชัดเจน ว่าเป็นกล้องที่เมื่อถ่ายออกมาจะได้ภาพที่เต็มเฟรม โดยขนาด Sensor ของกล้อง Fullframe 35mm. / 24 x 36mm.
โดยข้อได้เปรียบของกล้อง Full frame คือ
- เมื่อมีขนาด sensor ที่ใหญ่ จึงทำให้มีขนาด Pixel ใหญ่ด้วย ทำให้มี Noise น้อยกว่า กล้องขนาด APS-C หรือกล้องตัวคูณ
- สามารถเก็บรายละเอียดของแสงส่วนมืดและสว่างได้ดีกว่า (Dynamic Range)
- มีระยะชัดตื้นมากกว่ากล้อง APS-C หรือกล้องตัวคูณ
- ได้มุมรับภาพที่กว้างมากกว่ากล้อง APS-C (ถ้าใช้เลนส์ช่วงเท่ากัน)
5. กล้องตัวคูณ (APS-C)
เป็นกล้องที่มีขนาด Sensor เล็กกว่ากล้อง Full frame โดยจะมีขนาดเล็กกว่า full frame ประมาณ 1.5-1.6 เท่า แล้วแต่ยี่ห้อ
เมื่อใช้กล้อง 2 ประเภทนี้ถ่ายในระยะเดียวกัน เลนส์เดียวกัน จะเห็นได้ว่า ภาพของกล้องตัวคูณจะมีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อยืนที่เดียวกัน เหมือนภาพโดนครอปให้แคบขึ้นอีกตามตัวเลขที่บอกไป
ตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้เลนส์ขาด 50mm. พอใส่กับกล้องตัวคูณเข้าไป เราจะไม่ได้ระยะที่ 50mm. ต้องคูณเพิ่มเข้าไป 1.5-1.6 ทำให้ระยะจริง ๆ ที่เราได้คือ 75-80mm แน่นอนว่าพอถูกคูณเข้าไปประสิทธิภาพย่อมถูกลดลง แถมยังเป็นระยะที่เราไม่ต้องการอีกด้วย
6. เลนส์ kit และ เลนส์ fix
เลนส์ kit คือ เลนส์มาตรฐานที่ติดมากับตัวกล้อง คุณภาพตั้งแต่เบสิคยันเลนส์เกรดโปร แต่ก็จะมาพร้อมกับราคาที่โหดมาก
เลนส์ fix หรือเรียกชื่อเล่นง่าย ๆ ที่คนเรียกกันคือ เลนส์หน้าชัดหลังเบลอ , เลนส์ละลายหลัง
เป็นเลนส์ที่ไม่สามารถซูมได้ แต่เลนส์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะให้ค่า F(รูรับแสง) ค่อนข้างกว้าง จึงทำให้ถ่ายหน้าชัดหลังเบลอได้ดีกว่าเลนส์ kit ทั่วไป
ภาพมีความคมชัด แต่ไม่สามารถซูมได้ ต้องเคลื่อนตัวเข้าหาวุตถุที่ถ่ายอย่างเดียว
7. Lens mount
คือ ส่วนที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างกล้องและเลนส์ โดยกล้องในแต่ละค่ายจะมีเมาส์เลนส์เป็นของตัวเอง ไม่สามารถใส่ร่วมกันได้ เราจึงไม่สามารถจะใส่เลนส์ข้ามค่ายได้ นอกเสียจากใส่ adapter
8. กล้องส่วนใหญ่จะมีแฟลชในตัวกล้องมาให้ แต่แฟลชดังกล่าวนั้น อาจจะไม่ตอบโจทย์ถ้าเราจะถ่ายงานที่ scale ใหญ่ขึ้น อาจจะให้แสงสว่างไม่เพียงพอ เราจึงต้องมีแฟลชแยก เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานได้มากขึ้น
โดยแฟลชแยกก็จะสามารถใช้ร่วมกับ trigger ในการสั่งยิงแฟลชได้ แม้แฟลชจะไม่อยู่บนห้องกล้อง
9. Lens hood คือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อกับส่วนหน้าของเลนส์ เพื่อป้องกันไม่ให้แสงส่องมาโดนเลนส์โดยตรงและอาจเกิด ghost flare ได้
โดยจะมีประโยชน์อีกอย่างคือ ใส่แล้วเท่ 5555
10. Viewfinder
คือช่องมองภาพของกล้อง โดย DSLR จะมีความต่างกัน Mirrorless
DSLR เวลาเรามองจะเห็นภาพจริง ๆ ที่อยู่ตรงหน้าเรา แสงจริง เนื่องจากเรามองจากกระจกที่สะท้อนมาจากเลนส์
Mirrorless เราจะมองเห็นภาพที่กล้องตั้งค่าไว้ อาจจะ Under Over หรือ Middle ก็เป็นได้ ภาพที่เราเห็น แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ กล้องบางรุ่นก็สามารถที่จะปรับเห็นเป็นภาพเดียวกับแบบของ DSLR ได้เช่นกัน