1121 จำนวนผู้เข้าชม |
1. การเลือกใช้เลนส์
สำหรับเลนส์มาโครสามารถแบ่งความยาวโฟกัสออกมาได้ 3 ช่วงด้วยกัน ซึ่งก็จะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันเช่น
- ระยะ 50-60 mm เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่งในระยะใกล้ ๆ เช่น การถ่ายสินค้า หรืออาหาร
- ระยะ 70-105 mm เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่หลากหลาย ได้ทั้งภาพคน และวัตถุที่อยู่นิ่งในระยะใกล้ ๆ
- ระยะ 150-200 mm เหมาะอย่างมากกับการถ่ายภาพแมลง หรือสัตว์เล็ก ๆ ที่ตกใจง่าย เพราะสามารถถ่ายจากที่ไกลๆได้โดยไม่รบกวนแมลงหรือสัตว์เหล่านั้น
(ภาพประกอบ : ไขมันที่ลอยบนน้ำ)
2. การจัดองค์ประกอบ
การถ่ายภาพมาโคร จริง ๆ แล้วไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรเนื่องจากเป็นการถ่ายภาพที่เน้นวัตถุที่ต้องการถ่าย ทำให้ไม่จำเป็นต้องสนใจ องค์ประกอบโดยรวมของภาพที่เป็นฉากหลัง โดยเน้นที่ตัววัตถุ ที่ต้องการถ่ายก็เพียงพอแล้ว
(ภาพประกอบ : ใยแมงมุมบนรวงข้าว)
3. สำคัญพื้นหลังต้องดูสะอาดตา
เพราะการถ่ายภาพมาโครที่ดี พื้นหลังไม่ควรแย่งความน่าสนใจจากตัววัตถุหรือตัวแบบ ตัวแบบที่มีความโดดเด่นจะสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ครบแม้มีขนาดที่เล็กก็ตาม
(ภาพประกอบ : หลอดไฟเก่า)
4. รายละเอียดครบด้วย MANUAL โฟกัส
บางครั้งการใช้ระบบ Auto focus จะสามารถช่วยได้ค่อนข้างมากสำหรับการถ่ายภาพในหลายๆประเภท แต่ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพแบบมาโคร เพราะต้องเน้นจุดโฟกัสที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง การใช้ Auto focus จะทำให้หลุดโฟกัสได้ง่าย
(ภาพประกอบ : หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า)
5. เน้นที่แหล่งของแสงเพิ่มมิติให้ภาพ
แสงเป็นสิ่งสำคัญกับการถ่ายภาพ เช่นเดียวกับการถ่ายภาพมาโคร การกำหนดให้แสงตกกระทบที่ตัววัตถุหรือตัวแบบ จะช่วยให้ถาพดูมีมิติมากยิ่งขึ้น
(ภาพประกอบ : ประกายไฟจากไฟแช็ก)
6. เพิ่มความชัด โดยเพิ่มค่า F
โดยการปรับค่า F ที่มากกว่า ( 4 , 8 , 16 ) จะช่วยทำให้ได้ความคมชัดตามที่ต้องการ
(ภาพประกอบ : เกียร์รถยนต์)
7. ขาตั้งกล้องตัวการสำคัญสำหรับมาโคร
ความนิ่งของภาพมาโครส่วนใหญ่ได้มาจาก การใช้ขาตั้งกล้องที่มีคุณภาพ ภาพที่ได้จึงออกมาคมชัดและสวยดั่งที่เห็น
(ภาพประกอบ : ไม้ขีดไฟที่เพิ่งจุด)