7 เทคนิคถ่ายภาพดาว ให้

317 จำนวนผู้เข้าชม  | 

7 เทคนิคถ่ายภาพดาว ให้

ในบรรดาเว็บไซต์มากมายหลายล้านเว็บ ก็จะมีอยู่อีกหนึ่งเว็บที่อยากจะแนะนำมาก ๆ สำหรับการถ่ายภาพดาวหางเพราะเป็นเว็บที่จะคอยอัปเดตข่าวสารดาวหาง

สามารถทราบได้ทั้งความสว่างของดาวหางที่เหมาะแก่การถ่ายแบบเรียลไทม์ และรายละเอียดตำแหน่งการถ่ายภาพได้อย่างครบครัน โดยที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นอยู่ในเว็บไซต์นี้หมดแล้ว https://theskylive.com

ในความเป็นจริงขึ้นอยู่กับเวลาที่ดาวหางจะโคจรมา ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ว่าดางหางจะสามารถถ่ายได้ในเฉพาะเวลากลางคืน

แต่ทว่าในช่วงเวลา Golden hour ก็สามารถถ่ายดาวหางได้เช่นกัน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกล้องด้วยเช่นกัน

1. สปีตชัตเตอร์ ใช้ทฤษฎีกฏ 600 คือการใช้ 600 หารด้วยระยะเลนส์ที่ใช้ เช่น เลนส์ 24mm สปีตชัตเตอร์คือ 600/24 = 25 วินาที เป็นต้น (Fullframe)
2. ควรใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงที่ค่อนข้างกว้าง ที่ค่า F2.8-4 เพื่อให้กล้องได้รับแสงได้มากขึ้นและภาพสว่างมากขึ้น
3. ISO ดันน้อยสุดยิ่งดี ในความหมายคือ กล้องแต่ละรุ่นจะมีความละเอียดที่ต่างกัน ถ้าเป็นกล้องระดับเริ่มต้น อาจควบคุมการเกิด Noise ได้ไม่ดีนัก เราจึงควรใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงน้อย ๆ ในการช่วย

แต่ถ้าเป็นกล้องระดับโปร จะสามารถควบคุม Noise ได้ดี การดัน ISO เพิ่มขึ้นสูงอาจทำให้ไม่เสียรายละเอียดของภาพไปมากเท่ากับกล้องระดับเริ่มต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้ค่าตั้งกล้องนะคะ 

เพิ่มความน่าสนใจ และมิติของภาพ ด้วยระยะหน้า

ระยะหน้าจะช่วงสร้างเรื่องราว ให้ภาพดูมีการเล่าเรื่อง มากกว่าที่จะเป็นภาพดาวหางดื้อ ๆ 

การถ่ายภาพด้วยมือเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้พลาดโอกาสที่จะได้ภาพที่ดีที่สุด

การถ่ายภาพด้วยมือมักทำให้กล้องเกิดการสั่นสะเทือน ในช่วงจังหวะในการกดถ่ายหากมีขาตั้งกล้องคอยช่วย ควรตั้งเวลาในการถ่ายภาพ่น 3-5 นาทีหลังจากกดชัตเตอร์ จะช่วยลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี

ถ้าเราไม่ใช้ค่าตั้งกล้อง แนะนอนว่าเราจะสามารถถือกล้องนิ่ง ๆ ได้นานเกิน 5 วินาทีแน่นอน

ในที่นี่ก็แล้วแต่สไตล์ของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน

บางคนอยากเห็นภาพดาวหางใกล้ ๆ ชัด ๆ ก็ใช้เลนส์ Tele

แต่ถ้าอยากเห็นบริบทรอบ ๆ บรรยากาศกว้าง ๆ แนะนำให้ใช้เลนส์ Wide หรือเลนส์ที่มีระยะ Normal เช่น 24-70mm นะคะ

จากประสบการณ์ การถ่ายภาพบนท้องฟ้ามักเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม เมฆเยอะ ฟ้าไม่เปิด ลมแรง

หากไม่อยากเจอเหตุการณ์ที่ชวนหงุดหงิดแบบนี้ ทุกคนควรเช็กสภาพอากาศให้ดีก่อนไปถ่ายทุกครั้งกันด้วยนะคะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้